วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฮือฮา พบพระกรุแตก วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี





ชาวบ้านฮือฮา ขณะที่มีการบูรณะซ่อมแซมศาลาการเปรียญ เมื่อทุบช่อฟ้าออกพบพระเป็นจำนวนมาก ทางวัดเตรียมให้ชาวบ้านบูชา เพื่อร่วมบุรณะศาลาการเปรียญ















วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ตอนหนึ่งในนิราศเมืองสุพรรณ

โพพระยาท่าตลิ่งล้วน ล้อเกวียน
โพไผ่ไม้เต็งตะเคียน ตะขบบ้าง
ซีกซากกระบวนกระเบียน กระเบากระแบก กระบกแฮ
เสลาสลอดสลับสล้าง เหล่าไม้ใกล้กระสินธุ์(160)

ท่านสุนทรภู่ ได้นิพนธ์ไว้ตอนหนึ่งในนิราศเมืองสุพรรณ

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

กำเนิดแห่งวัด

  • วัดวรจันทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลโพธิ์พระยา เหนือสุดของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี เขตอุปจารของวัดห่างจากตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ ประมาณ 100 เมตรเศษ ความเป็นจริงสมัยโน้นเขตของอำเภอศรีประจันต์เป็นของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี (อำเภอท่าพี่เลี้ยงเดิม) ใครจะเป็นผู้แรกสร้างมาแต่เมื่อไร สืบสวนไม่ได้ความตลอด เพราะเหตุว่าในเวลาเมื่อเขียนประวัติเรื่องนี้ ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากๆได้ล่วงลับไปเสียหมด แต่คงได้ความยุติว่า ได้ตั้งมากว่าร้อยปี คือก่อนพุทธศักราช 2377 แต่เดิมไม่มีถาวรวัตถุอันใด นอกจากกุฏีไม้ไผ่มุงแฝกอยู่ 2 ถึง 3 หลัง ตั้งอยู่ที่ต้นมะตูมเหนือสระเก่าและต่อมาได้เป็นป่าช้าเผาผี มีวิหารเก่ามุงแฝกไม่มีฝา มีพระประธานปูนปั้น หน้าตัก 3 ศอกเศษประดิษฐานอยู่ เพียงเท่านี้
  • พ.ศ.2444 ทางราชการถอนเนื้อที่ตอนเหนือของอำเภอเมืองฯหรืออำเภอท่าพี่เลี้ยงในสมัยนั้น คือ ตำบลมดแดงขึ้นไปและตัดเนื้อที่ตอนใต้ของอำเภอสามชุก (เดิมชื่ออำเภอนางบวช) เป็นอำเภอศรีประจันต์ ด้วยเหตุดังกล่าว วัดวรจันทร์จึงอยุ่สุดเขตของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
  • พ.ศ.2466 ชลประทานมีการสร้างประตูน้ำโพธิ์พระยาขึ้น ทางด้านวัดพร้าวซึ่งเป็นฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ(แม่น้ำท่าจีน) ฝั่งตรงข้ามกับวัดวรจันทร์ จำเป็นต้องปิดกั้นแม่น้ำตรงวัดวรจันทร์และวัดพร้าว เพื่อเปลี่ยนทางเดินของแม่น้ำไปทางตะวันตกของวัดพร้าว แม่น้ำสุพรรณ ตอนวัดวรจันทร์และวัดพร้าวจึงไม่เป็นทางสัญจรไปมาของเรือต่างๆ จึงมีการสร้างสะพานไม้ขึ้นเชื่อมระหว่างวัดพร้าวและวัดวรจันทร์ ปัจจุบันเป็นสะพานปูนแล้ว
  • พ.ศ.2476 วัดนี้แต่เดิมเรียกว่าวัดจันทร์ ได้เปลี่ยนเป็นวัดวรจันทร์ โดยเพิ่มคำว่า "วร" ซึ่งแปลว่ายอดเยี่ยม ประเสริฐ เลิศ อันนี้เป็นเพราะเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดเชตุพน เมื่อยังเป็นพระธรรมปิฎก และเป็นเจ้าคณะมณฑลราชบุรี พระครูธรรมสารรักษา(หลวงพ่อพริ้ง) เป็นสมภารอยู่วัดนี้ เห็นว่าชื่อวัดจันทร์ไปพ้องกับวัดจรรย์ อำเภอศรีประจันต์ ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 8-9 กิโลเมตร เป็นเหตุให้มีการส่งหนังสือราชการผิดพลาดไข้วเขวกันเนืองๆ ฉะนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีจึงให้เปลี่ยนวัดจันทร์เป็นวัดวรจันทร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา